วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 
ขนมไทยสู่ตลาดโลก


        ปัจจุบัน ขนมไทย ก้าวไกลสู่ตลาดนานาประเทศทั่วโลกสามารถทำชื่อเสียงให้กับประเทศไทยของเราอีกทางหนึ่ง เช่น ขนมไทย จาก บ้านขนมไทยนพวรรณ ของอาจารย์นพวรรณ จงสุขสันติกุล
         เมื่อพูดถึงขนมไทย หลายคนอาจนึกถึงความหวานมันของกะทิ และความหวานของน้ำตาล ซึ่งมีผลต่อสุขภาพมากมาย แต่ถ้าพูดถึง ขนมไทยเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจสงสัยว่า ความหวานกับความมัน จะดีต่อสุขภาพได้อย่างไร? แต่อาจารย์นพวรรณทำได้ โดยพัฒนา รูปแบบ และดัดแปลงความหวาน ด้วยการใช้ ความหวานจากผลไม้ ส่วน ความมันกะทิ ก็ลดปริมาณลงแล้วใส่ข้าวบาร์เลย์แทนหรือการนำ พืชผัก และสมุนไพร มาเป็นส่วนผสมด้วย เช่น ดอกอัญชันแทน สีน้ำเงิน ดอกคำฝอยแทน สีแดง ใบเตยแทน สีเขียว หรือ ใส่งาดำ เพิ่มคุณค่าอาหาร ทำให้เกิด ขนมไทย รูปแบบใหม่ ที่มีความอร่อยลงตัว และ ส่งผลดีต่อสุขภาพได้ด้วย บ้านขนมไทยนพวรรณ มีขนมให้เลือกมากมายกว่า ๑๐๐ ชนิด ด้วยการผลิตที่สดใหม่ ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำชื่อเสียงให้กับบ้านขนมไทย เน้นการจัดตกแต่งและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทำให้ขนมไทยนพวรรณ มีชื่อเสียงและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบแฟรนไชส์ ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ขนมไทยในโอกาสพิเศษ เช่น งานเลี้ยงต่างๆ หรือการประชุม หรือเป็นของขวัญของฝากผู้ใหญ่ ญาติสนิทมิตรสหายได้ทุกเทศกาล หรือจะทำเป็นธุรกิจ SME ส่วนตัว ก็สามารถทำได้



การวิเคราะห์  Swot Analysis

จุดแข็ง (Strength)
1. มีความรู้ – ความสามารถเฉพาะตัวในการผลิตขนมไทยได้พัฒนาริเริ่มสร้างสรรค์ของใหม่อยู่เรื่อยๆ
2. ทีมงานเข้มแข็งร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด
3. มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
4. มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
5. ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง
จุดอ่อน (Weakness)
1. บางครั้งวัตถุดิบ เช่น ใบเตย ใบตอง เก็บไว้ได้ไม่นาน
2. บรรจุภัณฑ์ ยังไม่ดีพอ
3. ขนมไทย บางอย่างเก็บไว้ไม่ได้นาน
4. การผลิตขนมสดใช้ฝีมือประณีต จึงรับลูกค้าได้จำนวนจำกัด
โอกาส (Opportunost)
1. มีการออกแบบแพ็คเก็จเหมาะสมกับวาระเทศกาลต่างๆ
2.ในเทศกาลต่างๆ : วันปีใหม่และประเพณีปฏิบัติให้ส่วนลด
3. มีรูปลักษณ์เฉพาะตัว โดยที่ลูกค้าไม่เกี่ยงราคา
4. มีโอกาสหาลูกค้าตลาดบนได้สูง
อุปสรรค
1. ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศจีน
2. เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ตอนนี้ไม่แน่นอน การใช้เงินต้องใช้เวลาตัดสินใจนา
3. กำลังการซื้อลดลง
4. ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการบรรจุภัณฑ์
5. สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียง
6. มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

 


                                                                                            
             ขอขอบคูณแหล่งข้อมูล
            กรุงเทพธุรกิจ (www.bangkokbiznews.com)
                                    http://www.siaminfobiz.com


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลักษณะเด่นของประเทศจีน

中国的特点.

          ภาษาของประเทศจีน  แมนดารินเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นอีกจำนวนมาก เช่น ภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เซี่ยงไฮ้ แคะ ฮกเกี้ยน เสฉวน หูหนาน ไหหลำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนแบบย่อ (Simplifie Chinese) มีอักษรทั้งหมด 56,000 ตัว ใช้ประจำ 6,763 ตัว ถ้ารู้เพียง 3,000 ตัว ก็อ่านหนังสือพิมพ์และทั่วไปได้
          ศาสนาและความเชื่อ  ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ลักธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณเฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค

 

- การตลาดระหว่างประเทศกับ
การค้าระหว่างประเทศ -

             การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)  


           การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


              การค้าระหว่างประเทศ (Internationaltrade) 
                การค้าระหว่างประเทศ  หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้าและประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน


ขอบคุณแหล่งข้อมูล
    http://blog.spu.ac.th/print.php?id=3380
                                  http://www.idis.ru.ac.th
                                  www.management.cmru.ac.th/